พระเวสสันดรชาดกที่มาของเรื่อง
มหาเวสสันดรชาดกนั้นมีสันนิษฐานพบหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา
และถือว่าเป็นมหาเวสสันดรชาดกที่แปลแล้วนำมาแต่งเป็นภาษาไทยเล่มแรกคือ
มหาชาติคำหลวง ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระกรุณาโปรดเกล้า
ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยแปลและเรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๐๒๕
ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ได้โปรดเกล้า ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิต
เรียบเรียงมหาเวสสันดรชาดกเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ.๒๑๗๐ เรียกว่า
กาพย์มหาชาติ แต่งแปลเป็นภาษาไทยใช้ฉันทลักษณ์เดียวคือ ร่ายยาว
เพื่อใช้สำหรับเทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกาได้ฟังกัน นอกจากนี้ยังมีผู้นำมหาเวสสันดรชาดก
ไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายจำนวน และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่น กลอน ฉันท์ กาพย์ ลิลิต และ ร้อยแก้ว
รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับดังนี้
๑. มหาชาติภาคกลาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ กรมศึกษาธิการได้รวบรวมมหาชาติสำนวนต่างๆเนื้อหาอยู่ในคัมภีร์เทศน์มหาชาติเรื่องมหาเวสสันดรชาดก
๑๓ กัณฑ์ ๑๐๐๐ พระคาถา ซึ่งเทศน์ด้วยภาษาไทยถิ่นกลางหรือภาษาไทยมาตรฐาน
เทศน์มหาชาติภาคกลาง มีทั้งทำนองหลวงและทำนองราษฎร์ มีทั้งเทศน์ในวัง
และเทศน์ในวัด เทศน์ในวังเทศน์แบบทำนองหลวงอย่างเดียว เทศน์ในวัดมีทั้งทำนองหลวงและทำนองราษฎร์
ส่วนวัดขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมด้านบุคลากร จะเทศน์มหาชาติแบบเรียงกัณฑ์ทั้ง ๑๓
กัณฑ์ ตามคัมภีร์เรียกว่าทำนองหลวง เทศน์นอกคัมภีร์เรียกว่าทำนองราษฎร์
บางวัดก็เทศน์แบบผสมผสาน เรียกว่าเทศน์ทั้งเนื้อนอกเนื้อใน ที่มีผู้แต่ง ๖ ท่าน
ดังนี้
- กัณฑ์ทศพร
กัณฑ์หิมพานต์ กัณฑ์วนปเวศน์ กัณฑ์จุลพน กัณฑ์สักกบรรพ
กัณฑ์มหาราช และ นครกัณฑ์
พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส
- กัณฑ์วนปเวศน์ กัณฑ์จุลพน และกัณฑ์สักกบรรพ พระราชนิพธ์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- กัณฑ์กุมาร
กัณฑ์มัทรี งานนิพนธ์ เจ้าพระยาพระคลัง(หน)
- ทานกัณฑ์ งานนิพนธ์
สำนักวันถนน
- กัณฑ์ชูชก งานนิพนธ์
สำนักวัดสังข์กระจาย
สำนวนดังกล่าวนั้นแต่งเป็นร่ายยาว นิยมเรียกว่า มหาชาติคำกลอน
พระสงฆ์นิยมเอามาเทศน์ให้อุบาสกอุบากสิกาได้ฟังกัน เป็นสำนวนที่ถือว่าเยี่ยมในเรื่องความไพเราะ
ใช้คำอย่างอลังการ และการพรรณนาที่พิสดาร
๒. มหาชาติภาคเหนือ
สำนวนที่น่าสนจำได้แก่ มหาชาติสำนวนสร้อยสังกร
และสำนวนที่รวบรวมโดยพระอุบาลีคุณูปการมาจารย์ แต่งเป็นร่ายยาว ที่มีคำคล้องจอง
สัมผัสกันไปในแต่และวรรค เป็นมหาชาติที่มีเนื้อความและสำนวนภาษาคล้ายกับมหาชาติของภาคเหนืออีกสำนวนหนึ่ง
ที่เรียกว่า สำนวนไม้ไผ่แจ้เจียวแดง ซึ่งเชื่อว่าแต่งในสมัยอยุธยา
และเป็นต้นแบบของมหาชาติภาคเหนืออื่นๆ
ความโดดเด่น คือการใช้คำง่ายๆ ไม่เน้นการพรรณนาความอย่างพิสดาร
แต่มีการเล่นคำซ้ำที่ต้นวรรค
๓. มหาชาติภาคอีสาน
นั้นมีหลายสำนวนแต่ละวัดต่างใช้ฉบับของท้องถิ่นและคัดลอกสืบต่อมา
ชาวอีสานส่วนใหญ่ได้รับวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขงมาโดยตลอด และพิธีบุญพระเวส หรือ
บุญผะเหวด หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบุญมหาชาติ มีการทำกันเดือนใดเดือนหนึ่ง
ในระหว่างออกพรรษาจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้แล้วแต่สะดวก
บางแห่งทำในเดือนหกหรือเดือนเจ็ดก็มีและหากทำในเดือนหกหรือเดือนเจ็ดมักจะทำบุญบั้งไฟรวมด้วยก่อนจัดงาน
ทางบ้านและวัดจะมีการปรึกษาหารือตกลงกันให้เรียบร้อยก่อนทางชาวบ้านจะจัดอาหารการกิน
เช่น ขนม ข้าวต้ม และอาหารคาวต่างๆ สำหรับถวายพระภิกษุสามเณรและเลี้ยงแขกเลี้ยงคนที่มาร่วมงาน
และจัดหาปัจจัยไทยทานสำหรับใส่กัณฑ์เทศน์เพื่อถวายพระภิกษุสามเณร
ส่วนทางวัดก็แบ่งหนังสือออกเป็นกัณฑ์ ๆ
หนังสือผูกหนึ่งอาจแบ่งเป็นหลายกัณฑ์ก็ได้เพื่อให้ชาวบ้านได้รับกัณฑ์โดย
ทั่วถึงกัน มอบหนังสือให้พระภิกษุสมเณรในวัดนั้นเพื่อเตรียมไว้เทศน์
นอกนั้นจะมีการนิมนต์พระจากวัดอื่นมาเทศน์
โดยจะมีฎีกาไปนิมนต์พร้อมบอกชื่อกัณฑ์และบอกเชิญชวนชาวบ้านที่วัดนั้นตั้ง
อยู่มาร่วมทำบุญด้วย
ซึ่งตามปรกติเมื่อพระภิกษุสามเณรมาร่วมงานก็จะมีญาติโยมในหมู่บ้านนั้น ๆ
ตามมาฟังเทศน์และร่วมงานด้วยหมู่บ้านและมากๆ
หัวหน้าหรือผู้จัดงานในหมู่บ้านที่เป็นเจ้าของงานจะบอกบุญชาวบ้านในหมู่บ้าน ของตน
ให้รับเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์กัณฑ์ใด
กัณฑ์หนึ่งจนทั่วถึงกันและบอกจำนวนคาถาของแต่ละกัณฑ์ให้ทราบด้วยเพื่อเตรียมความเทียนมาตามจำนวนคาถาของกัณฑ์
คล้ายของภาคเหนือ คือการใช้คำง่ายๆ ไม่เน้นการพรรณนาความอย่างพิสดาร
๔. มหาชาติภาคใต้ สำนวนที่น่าสำนวนที่น่าสนใจ เช่น พระมหาชาดก
ฉบับวัดมัชฌิมาวาส จังหวัด สงขลา ไม่ปรากฏผู้แต่ง
ทราบเพียงชื่อผู้ที่ทำการคัดลอกคือ พระภิกษุณีเซ่า คัดลอกลงในสมุดข่อย เมื่อ
พ.ศ.๒๓๙๕ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยแต่งเป็นกาพย์ยานี ๑๑
กาพย์ฉบัง ๑๖ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ และมาลินีฉันท์ ๑๕
มหาชาติทางภาคใต้นั้นเน้นการพรรณนามากว่าภาคเหนือและภาคอีสาน
แต่น้อยกว่าภาคกลางโดยเน้นแสดงลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น เช่น เรื่องอาหาร
พรรณไม้ ภูมิประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น