วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

พระเวสสันดรชาดก
เนื้อเรื่องย่อ
กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร   มี ๑๙ พระคาถา
กล่าวถึงพระนางผุสดีจะต้องจุติจากสวรรค์ พระอินทร์จึงประทานพร ๑๐ ประการให้พระนางผุสดี ได้แก่ ๑)ขอให้เกิดในกรุงมัทราช แคว้นสีพี   ๒)ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย   ๓)ขอให้คิ้วคมขำดังสร้อยคอนกยูง   ๔)ขอให้ได้นามตามภพเดิมว่าผุสดี  ๕)ขอให้มีพระโอรสที่เกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป   ๖)ขอให้พระครรภ์งาม ไม่ป่องนูนตามสตรีสามัญ   ๗)ขอให้มีพระถันเปล่งปลังงดงามไม่ยานคล้อยลง   ๘)ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ   ๙)ขอให้มีผิวพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ   ๑๐)ขอให้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้
กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์   มี ๑๓๔ พระคาถา
พระนางผุสดีได้จุติลงมาเป็นพระราชธิดาพระเจ้ามัททราช  และได้เป็นพระมเหสีพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งแคว้นสีพี ต่อมาได้ประสูติพระเวสสันดร ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงนำมาไว้ในโรงช้างต้น  ให้มีนามว่าปัจจัยนาค มีคุณวิเศษคือ ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พระเวสสันดรใฝ่ใจการบริจาคทาน จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคให้กับชาวเมืองกลิงคราษฏร์ ซึ่งเป็นเมืองแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพงมาหลายปี ทำให้ชาวเมืองสีพีโกรธและเรียกร้องให้พระเจ้ากรุง    สญชัยทรงลงโทษพระเวสสันดร พระเจ้ากรุงสญชัยจึงทรงเนรเทศพระเวสสันดรไปจากเมือง
กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์    มี ๒๐๙ พระคาถา
ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลี และ  กัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสาสรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ ๗๐๐
 กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์   มี ๕๗ พระคาถา
 เมื่อเดินทางถึงนครเจตราช ทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหนาศาลาพระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราช จึงทูลเสด็จครองเมือง  แต่พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ  และเมื่อเสด็จถึงถึงเขาวงกต ได้พบศาลาอาศรม  ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของพระอินทร์ กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรม                                                                          
กัณฑ์ที่ ๕  ชูชก   มี ๗๙ พระคาถา
มีพราหมณ์แก่ชื่อชูชกพนักในบ้านทุนวิฐะ เที่ยวขอทานในเมืองต่างๆ เมื่อได้เงินถึง ๑๐๐ กหาปณะ จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย  แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว เมื่อชูชกมา  ทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก นางอมิตดาเมื่อ มาอยู่ร่วมกับชูชกได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาตน หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตีนางอมิตดา ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้ เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพราหมณ์เจตบุตรผู้รักษาประตูป่า
กัณฑ์ที่ ๖  จุลพน   มี ๓๕ พระคาถา  
พรานเจตบุตรหลงกลชูชก ที่ได้ชูกลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตร อ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของเจ้ากรุงสญชัยจะนำไปถวายพระเวสสันดร พรานเจตบุตรจึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี
กัณฑ์ที่ ๗ มหาพล   มี ๘๐ พระคาถา
เมื่อถึงอาศรมฤๅษี  ชูชกได้พบกับจุตฤๅษี  ชูชกใช้คารมหลอกล่อจุตฤๅษี พระฤาษีหลงเชื่อจึงให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร
กัณฑ์ที่ ๘ กุมาร   มี ๑๐๑ พระคาถา
ชูชกเข้าไปขอสองกุมาร พระเวสสันดรพระราชทานให้ สองกุมารรู้ความจึงหนีไปอยู่ในสระบัว พระเวสสันดรตามไปพูดจาให้สองกุมารเข้าใจ สองกุมารจึงขึ้นจากสระบัว ชูชกพาสองกุมารเดินทางโดย  เร่งรีบด้วยเกรงว่า หากพระนางมัทรีกลับจากหาผลไม้ก่อนจะเสียการ
กัณฑ์ที่ ๙  มัทรี    มี ๙๐ พระคาถา
พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึกจนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม  แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทางจนค่ำ เมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส พระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ จึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์ พระองค์ทรงตกพระทัย ลืมตนว่าเป็นดาบส จึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษพระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว  หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบนางจึงได้ทรงอนุโมทนา
กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ   มี ๔๓ พระคาถา  
พระอินทร์เกรงว่าหากมีใครมาขอพระนางมัทรีจากพระเวสสันดร ก็จะทำให้พระเวสสันดรบำเพ็ญภาวนาไม่สะดวก ด้วยไม่มีผู้คอยปรนนิบัติ ดังนั้นพระอินทร์จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์เฒ่าลงมาขอและได้ให้พรแปดประการแก่พระเวสสันดร รวมทั้งยังฝากฝังพระนางมัทรีไว้ให้อยู่ปรนนิบัติพระเวสสันดรด้วย
กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช   มี ๖๙ พระคาถา  
เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้  ส่วนตนปีนขึ้นไปนอนบนต้นไม้ เหล่าเทวดาจึงแปลงร่าง   ลงมาปกป้องสองกุมาร  จนเดินทางถึงกรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์  เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสองพระองค์ ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะ เดโชธาตุไม่ย่อย ชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร  ในขณะเดียวกันเจ้านครกลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี
กัณฑ์ที่ ๑๒  ฉกษัตริย์   มี ๓๖ พระคาถา  
พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา ๑ เดือน กับ ๒๓ วัน จึงเดินถึงเขาวงกต เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง ๔ เหล่าทำให้พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนนครสีพี จึงชวนนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดา ได้ทรงตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ รวมทั้งทหารเหล่าทัพทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน พระอินทร์จึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์และหวยหาญได้หายเศร้าโศก
กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์   มี ๔๘ พระคาถา  

หกกษัตริย์ยกพลกลับคืนพระนคร พระเจ้ากรุงสัญชัยตรัสสารภาพผิด พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรีและเสด็จกลับสู่สีพีนคร  เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชนท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว ๗ ประการตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาตามปรารถนา  ที่เหลือให้ขนเข้าคลังหลวง
ในการต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

พระเวสสันดรชาดก
ข้อคิดที่ได้รับ

ข้อคิดในกัณฑ์ทศพร
                การทำบุญจักให้สำเร็จสมประสงค์นั้น  ตั้งกัลยาณจิตอธิษฐาน เป้าหมายชีวิตที่ตนปรารถนาไว้ และความปรารถนาที่จะสำเร็จสมดังตั้งใจ ผู้นั้นต้องมีศีลบริบูรณ์มีศีลห้าเป็นต้น กล่าวคือ
                . ต้องกระทำความดี
                . ต้องรักษาความดีนั้นไว้
                . หมั่นเพิ่มพูนความดีให้มากยิ่งขึ้น            
ข้อคิดในกัณฑ์หิมพานต์
                . คนดีเกิดที่ไหนไม่สำคัญ แต่สำคัญอยู่ที่ทำดีหรือเปล่า  
                . การเสียสละแบ่งปันเป็นหัวใจของการสร้างสรรค์สังคม
                . การทำดีบางครั้งอาจมีอุปสรรค
                . ความเห็นแก่ตัว เป็นภัยอันยิ่งใหญ่ของการอยู่ร่วมกัน
                . การเลือกคู่ครองที่ดีให้ดูมัทรีเป็นแบบอย่าง ไม่หลงระเริงในยามสุข ไม่ละเลยคู่ทุกข์ในยามยาก
 ข้อคิดในทานกัณฑ์
. ยามมีเขายก ยามหมดเขาหยาม ชีวิตมีทั้งชื่นบานและขมขื่น              
. ความรักของแม่ความห่วงใยของเมีย ยิ่งใหญ่กว่ารักและห่วงใยของใครๆ ในโลก
. เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ผู้มุ่งโพธิญาณย่อมมิหวั่นไหวต่ออุปสรรค
. ชีวิตเป็นอนิจจัง อย่าจริงจังจนเกินไปนัก
                . โทษของความเป็นหม้ายในสมัยก่อน คือ ถูกสังคมดูหมิ่นเหยียดหยาม

ข้อคิดในกัณฑ์วนประเวศน์
. ยามจน ยามเจ็บ ยามจากเป็นกาลเวลาที่ควรจะได้รับความเห็นใจเหลียวแลช่วยเหลือจากญาติมิตรหรือเพื่อนร่วมโลก
                . ผลดีของมิตรแท้ คือ ไม่ทอดทิ้งในยามยาก ประคองในคราวลำบาก อุ้มชูในยามตกต่ำ ช่วยค้ำในยามทรุด
                . น้ำใจของคนดี หากรู้ว่าความสุขของคนส่วนมากจะตั้งอยู่ได้เพราะการเสียสละของตนก็ยินดีที่จะสละโอกาสและโชคลาภอันพึงได้ให้ด้วยความเต็มใจ
 ข้อคิดในกัณฑ์ชูชก
                ๑. บุรุษจะบรรลุความสำเร็จอันสูงสุดได้   เมื่อไม่หลงในอำนาจของสตรี
                ๒. สามีแก่ทุกข์ใจเพราะได้ภรรยาสาว
                ๓. ความรู้เป็นพิษเพราะไม่ใช้อาหารเป็นพิษเพราะเหตุไฟธาตุไม่ย่อย เมียสาวเป็นพิษเพราะผัวแก่ 
ข้อคิดในกัณฑ์จุลพน
. มีอำนาจหากขาดสติปัญญาไตร่ตรองย่อมถูกหลอกได้ง่าย
                . คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาด แต่ความโง่ถ้าไม่เบียดเบียนใคร ย่อมดีกว่าความฉลาดที่เอาเปรียบคนอื่น
                ๓. ไว้ใจทาง วางใจคน จะจนใจตนเอง
ข้อคิดในกัณฑ์มหาพน
                . ฉลาดแต่ขาดเฉลียว มีปัญญาแต่ขาดสติหย่อนปฏิบัติตนก็พลาดท่าเสียทีได้ง่าย
                . คนคดมักพูดหวาน คนพาลมักพูดเพราะ ต้องวิเคราะห์วินิจฉัยให้ถ้วนถี่
                . คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ซื้อเสื่อให้ดูลาย
                . บางครั้งความสงสารอาจนำมาซึ่งความฉิบหาย หากเชื่อง่ายอาจนำมาซึ่งความทุกข์
 ข้อคิดในกัณฑ์กุมาร
                . พ่อแม่ทุกคนรักลูกเหมือนกันแต่เป็นห่วงไม่เหมือนกัน โดยห่วงหญิงมากกว่าชายเพราะหญิงปกป้องตัวเองมากกว่า
                . วิสัยของผู้หญิงนั้น แม้จะมากด้วยเมตตากรุณา ชอบปลดเปลื้องความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น แต่ไม่มีวันจะสละลูกในไส้ให้แก่ผู้ใดได้
                . การเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ เป็นบันไดสู่ความสมหวัง
                . ทานอันยิ่งบัณฑิตย่อมสรรเสริญ แต่ปุถุชนมักติเตียน
 ข้อคิดในกัณฑ์มัทรี
                . “รักใครเล่าจะเท่าพ่อแม่รัก ห่วงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่ห่วง หวงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่หวง ให้ใครเล่าจะเท่าพ่อแม่ให้
                . ลูกดีชื่นใจพ่อแม่ ลูกแย่พ่อแม่ช้ำใจ
                . ลูกกตัญญู ชาวโลกอนุโมทนา เทวดาชื่นชม พรหมก็สรรเสริญ
 ข้อคิดในกัณฑ์สักบรรพ
                . การทำดีแม้ไม่มีคนเห็น แต่เทวดาย่อมเห็น
                . “อยากได้ดีไม่ทำดีนั้นมีมาก ดีแต่อยากหากไม่ทำก็ขำหนอ อยากได้ดีต้องทำดีอย่ารีรอ ดีแต่ขอรอแต่ดีไม่ดีเอย
                . ภรรยาที่ดีพึงสนับสนุนกิจการของสามี
 ข้อคิดในกัณฑ์มหาราช
                . คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ย่อมได้รับความปกป้องคุ้มครองภัยในที่ทุกสถาน
                . พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต พึงสละชีวิตเพื่อรักษาความถูกต้อง คือธรรม
ข้อคิดในกัณฑ์ฉกษัตริย์
                . จากกันยามเป็นได้เห็นน้ำใจจากกันยามตายได้เห็นน้ำตา
                . การให้อภัยเป็นเพราะได้สำนึกเป็นเหตุให้ลบรอยร้าวฉาน สันติสุขย่อมเกิดแก่โลกและสังคม
                . ความผิดพลาดเป็นเรื่องของมนุษย์ การให้อภัยเป็นวิสัยของเทวดา และการรู้จักปรับปรุงแก้ไขเป็นวิสัยของบัณฑิต
ข้อคิดในนครกัณฑ์
๑. การใช้ธรรมะในการปกครองย่อมทำให้เกิดความสงบร่มเย็น


บทนำ

การวิจักษ์วรรณคดี

        วรรณคดี เป็นหนังสือแต่งดี มีคุณค่าด้านเนื้อหาสาระและคุณค่าทางวรรณศิลป์ การที่จะนิยมหรือยอมรับว่าหนังสือเรื่อใดแต่งดีหรือมีคุณค่า ผู้อ่านต้องสนใจใคร่รู้และควรอ่านอย่างไตร่ตรองให้ถ่องแท้ เพื่อจะได้เข้าใจในเรื่องราว และได้รับอรรถรสของบทประพันธ์โดยผู้อ่านอาจจะพิจารณาว่าหนังสือเล่มนั้นมีเรื่องราวและเนื้อหาสาระอย่างไร มีคุณค่าและความงามในด้านใด การอ่านในลักษณะนี้เรียกว่า การอ่านวิจักษ์เป็นพื้นฐานของกานวิเคราะห์ การวิจารณ์ และการประเมินคุณค่าวรรณคดี
1.   การวิจักษ์และวิจารณ์วรรณคดี
    วรรณคดี หมายถึง หนังสือซึ่งได้รับการยกย่องว่าแต่งดี
    วิจักษ์ หมายถึง ที่รู้แจ้ง ที่เห็นแจ้ง ฉลาด มีสติปัญญา เชี่ยวชาญ ชำนาญ
      การวิจักษ์วรรณคดี จึงหมายถึงการอ่านวรรณคดีโดยใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรอง กลั่นกรองแยกแยะ และแสวงหาเหตุผล เพื่อประเมินคุณค่าของวรรณคดีได้อย่างมีเหตุผล
      ส่วนการวิจารณ์วรรณคดีนั้น เป็นการ...อ่านต่อ....



หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

นิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทร์เรื่องนิราศนรินทร์นี้ นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จสมเด็จพระบวร ราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์เสด็จยกกองทัพหลวงไปปราบพม่าซึ่งยกลงมาตีเมืองถลางและเมืองชุมพร เมื่อต้นรัชกาลที่ 2 ในพ.ศ. 2352 เป็นบทประพันธ์โคลงสี่สุภาพ 144 บท บทแรกเป็นร่ายสุภาพ
ถึงแม้นายนรินทรธิเบศร์จะเป็นกวีที่มีชื่อเสียงแต่เราทราบประวัติของท่านผู้นี้น้อยที่สุดและยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า ได้ประพันธ์งานกวีนิพนธ์อื่นๆอีก แต่โคลงนิราศนรินทร์นี้ ถือว่าเป็นนิราศที่แต่งได้ดีอย่างยอดเยี่ยมของไทย ที่คัดมาให้เรียนเพียง 5 บทนี้ ก็คงจะพอเป็นประจักษ์พยานที่ชี้ให้เห็นถึงอัจฉริยภาพของกวีท่านนี้ เฉพาะโคลงบทที่ 4 อาจใช้เป็นแบบอย่างในการแต่งโคลงสี่สุภาพที่ถูกต้องตรงตามข้อบังคับในฉันทลักษณ์ทุกประการ
                         อยุธยายศล่มแล้ว                          ลอยสวรรค์ ลงฤา
สิงหาสน์ปรางรัตน์บรร-                        เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์                         ศาสน์รุ่ง-เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า                                     ฝึกฟื้นใจเมือง

บาทแรกตีความได้เป็น 2 ทาง ทางหนึ่ง ตีความว่า….อ่านต่อ...

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

นิทานเวตาล เรื่องที่ 10
                นิทานเวตาล เป็นวรรณกรรมสันสกฤตโบราณ เรื่อง เวตาลปัญจวิงศติ หรือนิทานเวตาล 25 เรื่อง ซึ่งถูกเล่าโดยกวีชื่อ ศิวทาส และได้ถูกเล่าขานกันต่อมากว่า 2,500 ปีล่วงมาแล้ว เดิมนิทานเวตาลได้เรียบเรียงเป็นร้อยกรอง ชื่อ ลิลิตเพชรมงกุฎ โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่ถอดมาเพียงเรื่องแรกเท่านั้น ในภายหลังพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (พระบวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส) หรือ น.ม.ส. ได้ทรงแปลจากฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษของริชาร์ด ฟรานซิส เบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากสำนวนแปลของ ซี.เอช. ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง ทำให้ฉบับภาษาไทยของ น.ม.ส. มีนิทานเวตาลทั้งหมด 10 เรื่อง สาระบันเทิงจากนิทานเวตาลฉบับนี้อาจเห็นได้จากการที่มีผู้จัดรายการโทรทัศน์นำไปสร้างเป็น...อ่านต่อ...
                นิทานเวตาล เรื่องที 10
เวตาลกล่าวว่าครั้งนี้ข้าพเจ้าให้เกิดเขม่นตาซ้าย หัวใจเต้นแรงแลตาก็มืดมัว เป็นลางไม่ดีเสียแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็จะเล่าเรื่องจริงถวายอีกเรื่องหนึ่ง แลเพราะเหตุข้าพเจ้าเบื่อหน่ายการถูกแบกสะพายไปมาเป็นหลายเที่ยวแล้ว แม้พระองค์ไม่ทรงเบื่อเป็นผู้แบกก็จริง ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาที่อยากทูลถามสักที ถ้าทรงตอบได้ พระปัญญาก็มากยิ่งกว่าที่ข้าพเจ้าคิดว่าจะมีในพระราชาพระองค์ใด

                ในโบราณกาลเมืองใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงนาม ท้าวมหาพล มีมเหสีซึ่งแม้มีพระราชธิดาจำเริญวัยใหญ่แล้วก็ยัง...อ่านต่อ...

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
           อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา
ความเป็นมา
           อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเอเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์ และพระราชโอรส ๒ พระองค์ เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช จึงได้แบ่งราชอาณาจักรเป็น ๒ ส่วน คือกุเรปัน และ ดาหา

        ต่อมาท้าวกุเรปันได้ทรงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง และท้าวดาหาทรงมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ซึ่งทั้งสองพระองค์มีพระนามว่า อิเหนาและบุษบา เมื่อเจริญพระชันษา อดีตพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์เดิมที่...อ่านต่อ...

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

คำนมัสการคุณานุคุณ

     คำนมัสการคุณานุคุณ  ผลงานการประพันธ์ของ  พระยาศรีสุนทรโวหาร  (น้อย  อาจารยางกูร)  มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกในคุณงามความดีของพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  บิดามารดา  และครูอาจารย์  โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้อ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทยตั้งอยู่ในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
ผู้แต่ง   พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
ลักษณะคำประพันธ์   อินทรวิเชียรฉันท์ 11 กาพย์ฉบัง 16
จุดมุ่งหมายในการแต่ง   เพื่อปลูกผังคุณธรรมและตระหนักถึงความกตัญญูกตเวที

ความเป็นมา   พระยาศรีสุนทรโวหารได้นำคาถาภาษาบาลีมาแปลและเรียบเรียงแต่งเป็นบทร้อยกรอง  มีสัมผัสคล้องจอง  ง่ายต่อการท่องจำสามารถพรรณนาความได้อย่างไพเราะจับใจ  หากเทียบกับการแปลเป็นความเรียงร้อยแก้วทั่วไปและถ้าอ่านออกเสียงเป็นทำนองเสนาะหรือสวดด้วยทำนองสรภัญญะจะยิ่งเพิ่มความไพเราะของถ้อยคำและความหมายที่จรรโลงจิตใจให้....อ่านต่อ....