วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8


พระเวสสันดรชาดกประวัติผู้แต่ง

๑. เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

เจ้าพระยาพระคลังท่านนี้ เป็นบุตรเจ้าพระยาบดินทร์สุรินทร์    ฦๅชัย (บุญมี) กับท่านผู้หญิงเจริญ มีบุตรธิดาหลายคนที่มีชื่อเสียงคือ     เจ้าจอมพุ่ม ในรัชกาลที่ ๒, เจ้าจอมมารดานิ่ม พระมารดาสมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร (มั่ง) ในรัชกาลที่ ๒, นายเกต และนายพัด ซึ่งเป็นกวี  และครูพิณพาทย์ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นต้นสกุลบุญ-หลง เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์      มีนามเดิมว่า หน เกิดเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด น่าจะอยู่ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาและถึงแก่อสัญกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๑ พ.ศ.๒๓๔๘                                                          
พระราชนิพนธ์ ในมหาเวสสันดรชาดก ๒ กัณฑ์ คือ มัทรี กุมาร
๒. กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระนามเดิม พระองค์เจ้าวาสุกรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธ        ยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๓ เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา ได้ผนวชเป็นสามเณร ประทับ ณ พระตำหนักท่าวาสุกรี วัดพระเชตุพนฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้รับการสถาปนาเป็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระมหา            สมณเจ้ากรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส   สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ รวมพระชนมายุ ๖๔ พรรษา
งานพระนิพนธ์ที่สำคัญ ได้แก่ ตำราฉันท์มาตราพฤติและวรรณพฤติ ลิลิตตะเลงพ่าย สมุทรโฆษ    คำฉันท์ ทรงนิพนธ์ต่อจากพระมหาราชครูและสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งค้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ๑๑ กัณฑ์ เว้นกัณฑ์มหาพนและกัณฑ์มัทรี เพราะทรงเห็นว่าพระเทพโมลี (กลิ่น) และเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งกัณฑ์มัทรีไว้ดีแล้ว
พระราชนิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก ๕ กัณฑ์ คือ ทศพร หิมพานต์ มหาราช ฉกษัตริย์ นครกัณฑ์
๓. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์ เสด็จพระราชสมภพในวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ ในสมัยรัชกาลที่ ๑  เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔๓และเป็นลำดับที่ ๒ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ รวมพระชนมพรรษา ๖๔ พรรษา 
พระราชนิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก ๓ กัณฑ์ คือ วนปเวสน์ จุลพน สักบรรพ
๔. พระเทพโมลี ( กลิ่น )

พระเทพโมลี (กลิ่น) เกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๒๘๓ รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีเชื้อสายรามัญ ท่านบรรพชา-อุปสมบทวัดตองปุ อยุธยา สมัยพระเจ้าเอกทัศน์เมื่อกรุงศรีอยุธยา       ล่มสลาย ท่านพระมหาศรี พระขุน พระเทพโมลี ครั้งเป็นพระกลิ่น   หลบภัยข้าศึก ล่องลงมาทางใต้ ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ท่านและคณะกลับมาอยู่วัดกลางนา (วัดตองปุ หรือวัดชนะสงคราม) กรุงเทพฯ    ต่อมาทราบข่าวพระอาจารย์สุก มาสถิตวัดพลับ เป็นที่พระญาณ        สังวรเถร ทั้งสามท่านจึงตามมาอยู่วัดพลับ เรียนขอเล่าเรียน               พระกรรมฐานมัชฌิมา พระมหากลิ่น และคณะ ทราบว่าพระอาจารย์สุก มาสถิตวัดพลับ ทรงเชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐาน ท่านและคณะซึ่งเป็นเชื้อสายรามัญ จึงได้เข้าไปกราบนมัสการขออนุญาต พระมหา       สุเมธาจารย์เป็นเจ้าอาวาสวัดกลางนา ซึ่งเป็นพระสงฆ์นิกายรามัญ เพื่อมาศึกษาพระกรรมฐานในสำนัก    พระญาณสังวรเถร (สุก)
นิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก ๑ กัณฑ์ คือ มหาพน
๕. สำนักวัดถนน
นายทองอยู่ เกิดที่บ้านไผ่จำศีล อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง เมื่ออายุ ๑๐-๑๑ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ได้ผ่านวัดอยู่วัดหนึ่ง เรียกว่า วัดถนนจึงได้พักอยู่วัดนี้ ได้อุปสมบทเรื่อยมา ท่านทองนับว่าเป็นสถาปนิกชั้นเยี่ยม ท่านได้สร้างเจดีย์ที่งดงาม รวมถึงได้แต่งร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทานกัณฑ์แล้ว ยังแต่งบททำขวัญนาคไว้อย่างไพเราะอีกด้วย
นิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก ๑ กัณฑ์ คือ ทานกัณฑ์
๖. สำนักวัดสังข์กระจาย
สำนักวัดสังข์กระจายเป็นชื่อสำนักที่ท่านผู้แต่งบวชอยู่ วัดนี้อยู่ริมคลองบางกอก เป็นวัดโบราณ ส่วนท่านผู้แต่งกัณฑ์ชูชกนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงนุภาพทรงสันนิษฐานว่า คือ  พระเทพมุนี (ด้วง) แต่ประวัติของท่านยังไม่เป็นที่แน่ชัด ในพ.ศ. ๒๓๓๒ คราวเกิดอสุนีบาตตกต้องมุขพระที่นั่งอินทราภิเศกมหาปราสาทติดเป็นเพลิงไหม้ขึ้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรง      พระแสงของ้าวเร่งข้าราชการดับเพลิงจนสงบ แล้วทรงปริวิตกว่าเห็นจะเป็นอัปมงคลนิมิตแก่บ้านพระราชาคณะที่เป็นปราชญ์ ต่างได้ลงชื่อถวายชัยมงคล ซึ่งรายนามพระสงฆ์ที่ถวายพระพรครั้งนั้นมีพระเทพมุนีวัดสังข์กระจายด้วยรูปหนึ่ง นอกจากนี้ พระเทพมุนีรูปนี้ยังถวายเทศน์กัณฑ์ชูชกในรัชกาลที่ ทั้งยังเคยถวายแก้ข้อกังหาปัญหาธรรมและพระราชปุจฉาในรัชกาลที่ ๑ อีกด้วย
นิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก ๑ กัณฑ์ คือ ชูชก








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น