พระเวสสันดรชาดกลักษณะการแต่ง
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นร่ายยาวสำหรับเทศน์ จะมีคำศัพท์บาลีขึ้นก่อน แล้วแปลเป็นภาษาไทย แล้วจึงมีร่ายตาม ในระหว่างการดำเนินเรื่องจะมีคำบาลีคั่นเป็นระยะ
ๆ
คำบาลีนั้นมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับข้อความที่ตามมา
การอ่านคำประพันธ์ประเภทร่าย
การอ่านออกเสียงบทร้อยกรองประเภทร่าย
นิยมอ่านหลบเสียงสูงให้ต่ำลงในระดับของเสียงที่ใช้อยู่ ส่วนเสียงตรีที่หลบต่ำลงนั้นอาจเพี้ยนไปบ้าง
เช่น น้อยน้อย เป็น นอยนอย
แต่เสียงจัตวา
แม้จะหลบเสียงต่ำลงมักจะไม่เพี้ยน
การอ่านร่ายทุกชนิดจะอ่านทำนองเหมือนกัน คือ ทำนองสูงด้วยเสียงระดับเดียวกัน
และการลงจะหวะจะอยู่ที่ท้ายวรรคของทุกวรรค
ส่วนจะอ่านด้วยลีลาใดนั้นขึ้นอยู่กับอารมณ์ตามเนื้อความ ดังนี้
- เนื้อความแสดงอารมณ์เศร้า ใช้น้ำเสียงเบาลง สั่นเครือ
และทอดเสียงให้ช้าลงกว่าปกติ
- เนื้อความแสดงอารมณ์โกรธ ใช้น้ำเสียงหนักแน่น เน้นเสียงดังกว่าปกติ กระชับ
สั้น
- เนื้อความแสดงอารมณ์ขบขัน ทำเสียงให้แสดงถึงความขบขัน โดยที่
ตัวเองต้องไม่หัวเราะ
ขณะอ่าน
- เนื้อความบรรยายหรือพรรณนา ต้องอ่านตามอารมณ์ของเนื้อความนั้น เช่น บรรยายหรือ
พรรณนาความงาม ใช้น้ำเสียงแจ่มใส ไม่ดัง หรือไม่เบาเกินไป
- เนื้อความแสดงความศักดิ์สิทธิ์หรือยิ่งใหญ่
ใช้น้ำเสียงหนักแน่น เน้น
แต่ไม่ห้วน
- เนื้อความสั่งสอน
ใช้น้ำเสียงไม่ดังหรือเบาเกินไป
เน้นคำที่สั่งสอน แต่ไม่ห้วน
- เนื้อความบรรยายการต่อสู้ ใช้น้ำเสียงดัง หนักแน่น
ห้วน กระชับ
- เนื้อความแสดงความตกใจ ใช้น้ำเสียงหนักเบา เสียงสั่นตามเนื้อความ
- เนื้อความตัดพ้อต่อว่า ใช้น้ำเสียงหนักบ้าง เน้นบ้าง
สะบัดเสียงบ้าง
การอ่านร่ายพยายามอ่านให้จบวรรค
เพราะจังหวะหลักของร่ายทุกชนิดจะอยู่ที่ปลายวรรค ซึ่งเป็นคำส่งสัมผัส ส่วนจังหวะเสริมจะอยู่ที่คำรับ
ดังนั้นเมื่ออ่านถึงคำรับสัมผัสจะต้องเน้นเสียงหรือทอดเสียง ซึ่งเป็นเสมือนการแบ่งวรรคไปในตัว เช่น ลูกรักเจ้าแม่เอย เจ้าเคยมาอาศัยนั่งนอน จังหวะหลักอยู่ที่คำส่งสัมผัส
คือ เอย จังหวะเสริมอยู่ที่คำรับสัมผัส คือ เคย
การอ่านตอนจบผู้อ่านจะต้องทอดเสียงให้ยาวกว่าการทอดเสียงท้ายวรรคอื่น
ๆ เพื่อให้ผู้ฟังรู้ว่าเรื่องที่ฟังกำลังจะจบแล้ว
และเป็นการสร้างความประทับใจให้ผู้ฟังต้องการฟังอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น